วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554









สำหรับในประเทศไทยนั้น รัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นรัฐบาลแรกที่ได้ประกาศให้มีการดำเนินการ “ถนนคนเดิน” ในประเทศไทย โดยเป็นหนึ่งในมาตรการเพื่อการประหยัดพลังงานตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อเดือนกันยายน 2544 ซึ่ง นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้นำมาตรการดังกล่าวมาจัดทำเป็น “โครงการปิดถนนคนเดินเพื่อประหยัดพลังงาน ลดมลพิษ และส่งเสริมการท่องเที่ยว” และทำมาสู่การปฏิบัติ ในรูปแบบของโครงการนำร่อง โดยใช้ถนนสีลม จังหวัดกรุงเทพฯ เป็นต้นแบบของ “ถนนคนเดิน” ในประเทศไทย และจัดกิจกรรมสาธิต ในชื่อ “7 มหัศจรรย์ที่สีลม” โดยการสนับสนุนของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และมีสำนักงานคณะกรรมการระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายน – 31 ธันวาคม 2544 เป็นเวลา 7 สัปดาห์



“เชียงใหม่ นพบุรี ศรีนครพิงค์” นครแห่งความรุ่งเรืองด้านศิลปกรรม โบราณวัตถุ ตลอดจนวัฒนธรรมล้านนาที่เปี่ยมมนต์เสน่ห์ ซึ่งเป็นความรุ่งเรืองที่ก้าวไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ โดยเชียงใหม่ได้กำหนดกรอบวิสัยทัศน์และแนวทางการพัฒนาจังหวัด ซึ่งหนึ่งในแนวทางการดำเนินการก็คือ การกำหนดให้มีการใช้ที่ดินในจังหวัดอย่างเหมาะสมเพื่อให้เชียงใหม่เป็นเมืองน่าอยู่ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีไปพร้อมๆ กับการเป็นเมืองท่องเที่ยวที่เปี่ยมศักยภาพ และกิจกรรม “ถนนคนเดิน” ก็คืออีกหนึ่งกิจกรรมที่จะมีการนำมาดำเนินการในจังหวัดเชียงใหม่

โดยกำหนดให้พื้นที่ดำเนินการคือ “ถนนท่าแพ” อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นถนนสายเศรษฐกิจเส้นแรกของจังหวัด มีประวัติความเป็นมายาวนาน มีชุมชนที่จะสามารถกระตุ้นและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนได้ นับเป็นการปลุกวัฒนธรรมของพื้นที่ให้มีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้ง เป็นการ “คืนชีวิตให้ชุมชน คืนถนนให้คนเดิน” ครั้งแรกของจังหวัดเชียงใหม่

ส่วนการจัดกิจกรรมบนถนนท่าแพ ในแนวคิด การคืนชีวิตให้ชุมชน คืนถนนให้คนเดิน จะเป็นการนำเอาขนบธรรมเนียมประเพณีและวิถีชีวิตงดงามของล้านนาเป็นหัวใจในการนำเสนอรูปแบบกิจกรรมถนนคนเดิน ขณะเดียวกันก็สอดแทรกการรณรงค์ในเรื่องการประหยัดพลังงาน การลดมลพิษ และการส่งเสริมการท่องเที่ยว
ซึ่งกิจกรรมถูกกำหนดให้จัดทุกๆวันอาทิตย์ โดยเริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 3 ก.พ. -วันอาทิตย์ที่ 7 เม.ย. 45 รวมทั้งสิ้น 10 ครั้ง โดยใช้ชื่อว่า"10 มหัศจรรย์ ล้านนาที่ท่าแพ "โดยจะเน้นกิจกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเชียงใหม่ เน้นการนำความงดงามในชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของล้านนา เพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น